ข้อมูลเทศบาล
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
เพื่อนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ของเทศบาลเมืองแม่โจ้ มียุทธศาสตร์หลักที่จะดำเนินการให้ประสบความสำเร็จรวม 8 ยุทธศาสตร์ และมีแนวทางการพัฒนาเทศบาลเมืองแม่โจ้ จำนวน 26 แนวทาง ซึ่งเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดในบรรลุเป้าประสงค์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจน
เป้าหมาย
เพื่อสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนทางเศรษฐกิจระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะผลิตผลทางการเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ให้มีความสามารถและทักษะในการพัฒนาฝีมือในการผลิตเพิ่มมูลค่าของสินค้าและสามารถขยายการตลาดไปสู่ตลาดกลาง ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ และการแปรรูปสินค้าเกษตร และยุทธศาสาตร์สร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดขอนแก่น
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร
2. เสริมสร้างและเพิ่มทักษะอาชีพของครัวเรือนและกลุ่มอาชีพ
3. สร้างความตระหนักแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค
ตัวชี้วัด
1. จำนวนบุคลากรที่มีทักษะในการผลิตผลทางเกษตรอินทรีย์
2. จำนวนครัวเรือนและกลุ่มอาชีพที่มีทักษะในการประกอบอาชีพ
3. จำนวนสถานประกอบการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีระบบ
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต
เป้าหมาย
เพื่อเสริมสร้างทักษะของคนภายในชุมชนทั้งทางด้านจิตใจ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย ด้านสวัสดิการและสังคม ด้านกีฬา ให้มีคุณภาพและพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) และฉบับที่
แนวทางการพัฒนา
1. การพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
2. การพัฒนาและส่งเสริมการศึกษา
3. การพัฒนาส่งเสริมด้านสุขภาพและอนามัย
4. การพัฒนาและส่งเสริมด้านสวัสดิการชุมชน
5. การพัฒนาและสิ่งเสริมด้านกีฬาและการนันทนาการ
ตัวชี้วัด
1. จำนวนชุมชนที่มีความสงบสุขพึงปรารถนาร่วมกัน
2. จำนวนประชาชนที่ได้รับการศึกษาและศึกษาเพิ่มขึ้น
3. จำนวนประชาชนผู้มีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดี
3. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
เป้าหมาย
เพื่อสนับสนุนประชาชนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและตรวจสอบการทำงานของภาครัฐและให้บรรจุแนวทางการดำเนินงานของจังหวัดขอนแก่นตามยุทธศาสตร์การบริหารราชการให้เป็นไปตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรทุกภาคส่วนในการพัฒนาทางการเมืองและสังคม
2. ส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรและองค์กรให้มีขีดความสามารถในการพัฒนา
3. ส่งเสริมการพัฒนาระบบการบริการประชาชนตามมาตรฐานสากล (PSO)
4. การพัฒนาและจัดระเบียบของชุมชนและสังคม
ตัวชี้วัด
1. จำนวนผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมืองและสังคม
2. จำนวนบุคลากรและอุปกรณ์มีศักยภาพในการบริการประชาชนเพิ่มขึ้น
3. ส่งเสริมการจัดการบริการประชาชนสู่มาตรฐานสากล (PSO)
4. ความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการ
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
เพื่อพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอันพึงปรารถนาร่วมกันไม่ให้มีปัญหาภายในชุมชนซึ่งเป็นไปตามแนวทางยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด
แนวทางการพัฒนา
1. สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม
2. สร้างจิตสำนึกและความตระหนักของผู้ประกอบการและผู้บริโภค.
3. การบริหารจัดการและรณรงค์กำจัดขยะมูลฝอย
ตัวชี้วัด
1. จำนวนของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. จำนวนผู้ประกอบและผู้บริโภคได้ให้ความร่วมมือ
3. จำนวนปริมาณขยะมูลฝอยที่ให้การบริการลดน้อยลง
5. ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
เป้าหมาย
เพื่อก่อสร้างและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ให้มีความสะดวกและมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านอื่น ๆ ให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านคมนาคมขนส่ง ด้านความสงบเรียบร้อย และความสงบสุขของประชาชนและด้านเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนา
ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจให้ประชาชนได้รับการบริการสาธารณะให้ความสะดวก และรวดเร็วขึ้น โดยเน้นการมีมาตรฐานและเกิดความยุติธรรมดังนี้
1. ก่อสร้างและปรับปรุงบำรุงถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำให้เป็นไปด้วยความสะดวก
2. ก่อสร้างขยายเขตไฟฟ้าและไฟฟ้าสาธารณะ
3. ก่อสร้างและขยายเขตการบริการประปา
4. บริการสาธารณะที่ประชาชนพึงได้รับอย่างถ้วนหน้า
ตัวชี้วัด
1. จำนวนการก่อสร้างและปรับปรุงถนนทางระบายน้ำ
2. จำนวนปริมาณการขยายเขตไฟฟ้าและไฟฟ้าสาธารณะให้ครบทุกครัวเรือน
3. จำนวนปริมาณการขยายเขตประปาให้ครบทุกครัวเรือน
4. จำนวนการได้รับบริการสาธารณะอื่น ๆ เช่น โทรศัพท์สาธารณะ
6. ยุทธศาสตร์ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแนวนโยบายของรัฐบาล
เป้าหมาย
เพื่อปฏิบัติงานหรือดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนในการจัดระบบบริการสาธารณะระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและปฏิบัติงานตามแนวทางนโยบายของรัฐบาล
แนวทางการพัฒนา
ปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนงานในการจัดการระบบบริการสาธารณะตามแนวทางและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกระจายอำนาจกำหนดและดำเนินงานหรือกิจกรรมการที่ได้มอบจากรัฐบาล
1. การถ่ายโอนงานกิจการจัดการศึกษา
2. ส่งเสริมอัตราการป้องกันเฝ้าระวังรักษาบำบัดผู้เสี่ยงติดยาเสพติด และรักษาชุมชนให้เข้มแข็ง
3. ส่งเสริมการมีสุขภาพอนามัยที่ดีของมารดาและทารก
4. ส่งเสริมระบบความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้สามารถลดปัญหาความรุนแรง จากอุบัติเหตุ อุบัติภัย อาชญากรรมและสาธารณภัยต่าง ๆ
5. ส่งเสริมสร้างโอกาสการเข้ากับบริการสาธารณสุข
6. ส่งเสริมและสนับสนุนแนวนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
ตัวชี้วัด
1. จำนวนภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนงานบริการกิจการสาธารณะ
2. ปัญหายาเสพติดไม่มีและชุมชนเข้มแข็ง
3. มารดาและทารกได้รับการดูแล
4. ประชาชนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จำนวนอุบัติเหตุ อุบัติภัย อาชญากรรมมีจำนวนลดลง
5. จำนวนประชาชนได้รับการบริการสาธารณสุขอย่างก้าวหน้า
เทศบาลเมืองแม่โจ้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่สำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นให้กับประชาชน ได้แก่ งานด้านรักษาความสงบเรียบร้อย ส่งเสริมการศึกษา การกีฬา การจราจร งานสาธารณูปการ งานรักษาความสะอาดและสุขภาพอนามัยของประชาชน การบริหารงานทะเบียนราษฎรและบัตรประชาชน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาผังเมือง การควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตพื้นที่ให้เหมาะสม ตามบทบาทหน้าที่ที่เป็นของประชาคมท้องถิ่นด้วยการให้บริการที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพเป็นที่พึงพอใจของชุมชนและผู้รับบริการ ตามนโยบายของรัฐและกฎหมายกำหนด อีกทั้งส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร่วมกับเทศบาลได้
เทศบาลเมืองแม่โจ้ ได้ดำเนินการให้บริการประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการอื่น ๆ เพื่อรองรับความต้องการด้านบริการที่ขยายตัวตามหลักการของการพัฒนาเมือง และรับกับแผนงานพัฒนาตามแผนพัฒนาระดับจังหวัด ระดับอำเภอ โดยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการอื่น ๆ ให้การยินยอมและสมัครใจที่จะเข้าร่วมในการจัดการบริการร่วมกัน
ในการบริการจัดการภารกิจดังกล่าว เทศบาลจะปรับปรุงการจัดองค์การให้ทันสมัยและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้งานด้านบริการและพัฒนาท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ
เพื่อนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ของเทศบาลเมืองแม่โจ้ มียุทธศาสตร์หลักที่จะดำเนินการให้ประสบความสำเร็จรวม 8 ยุทธศาสตร์ และมีแนวทางการพัฒนาเทศบาลเมืองแม่โจ้ จำนวน 26 แนวทาง ซึ่งเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดในบรรลุเป้าประสงค์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจน
เป้าหมาย
เพื่อสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนทางเศรษฐกิจระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะผลิตผลทางการเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ให้มีความสามารถและทักษะในการพัฒนาฝีมือในการผลิตเพิ่มมูลค่าของสินค้าและสามารถขยายการตลาดไปสู่ตลาดกลาง ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ และการแปรรูปสินค้าเกษตร และยุทธศาสาตร์สร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดขอนแก่น
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร
2. เสริมสร้างและเพิ่มทักษะอาชีพของครัวเรือนและกลุ่มอาชีพ
3. สร้างความตระหนักแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค
ตัวชี้วัด
1. จำนวนบุคลากรที่มีทักษะในการผลิตผลทางเกษตรอินทรีย์
2. จำนวนครัวเรือนและกลุ่มอาชีพที่มีทักษะในการประกอบอาชีพ
3. จำนวนสถานประกอบการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีระบบ
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต
เป้าหมาย
เพื่อเสริมสร้างทักษะของคนภายในชุมชนทั้งทางด้านจิตใจ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย ด้านสวัสดิการและสังคม ด้านกีฬา ให้มีคุณภาพและพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) และฉบับที่
แนวทางการพัฒนา
1. การพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
2. การพัฒนาและส่งเสริมการศึกษา
3. การพัฒนาส่งเสริมด้านสุขภาพและอนามัย
4. การพัฒนาและส่งเสริมด้านสวัสดิการชุมชน
5. การพัฒนาและสิ่งเสริมด้านกีฬาและการนันทนาการ
ตัวชี้วัด
1. จำนวนชุมชนที่มีความสงบสุขพึงปรารถนาร่วมกัน
2. จำนวนประชาชนที่ได้รับการศึกษาและศึกษาเพิ่มขึ้น
3. จำนวนประชาชนผู้มีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดี
3. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
เป้าหมาย
เพื่อสนับสนุนประชาชนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและตรวจสอบการทำงานของภาครัฐและให้บรรจุแนวทางการดำเนินงานของจังหวัดขอนแก่นตามยุทธศาสตร์การบริหารราชการให้เป็นไปตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรทุกภาคส่วนในการพัฒนาทางการเมืองและสังคม
2. ส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรและองค์กรให้มีขีดความสามารถในการพัฒนา
3. ส่งเสริมการพัฒนาระบบการบริการประชาชนตามมาตรฐานสากล (PSO)
4. การพัฒนาและจัดระเบียบของชุมชนและสังคม
ตัวชี้วัด
1. จำนวนผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมืองและสังคม
2. จำนวนบุคลากรและอุปกรณ์มีศักยภาพในการบริการประชาชนเพิ่มขึ้น
3. ส่งเสริมการจัดการบริการประชาชนสู่มาตรฐานสากล (PSO)
4. ความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการ
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
เพื่อพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอันพึงปรารถนาร่วมกันไม่ให้มีปัญหาภายในชุมชนซึ่งเป็นไปตามแนวทางยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด
แนวทางการพัฒนา
1. สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม
2. สร้างจิตสำนึกและความตระหนักของผู้ประกอบการและผู้บริโภค.
3. การบริหารจัดการและรณรงค์กำจัดขยะมูลฝอย
ตัวชี้วัด
1. จำนวนของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. จำนวนผู้ประกอบและผู้บริโภคได้ให้ความร่วมมือ
3. จำนวนปริมาณขยะมูลฝอยที่ให้การบริการลดน้อยลง
5. ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
เป้าหมาย
เพื่อก่อสร้างและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานในเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ให้มีความสะดวกและมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านอื่น ๆ ให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านคมนาคมขนส่ง ด้านความสงบเรียบร้อย และความสงบสุขของประชาชนและด้านเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนา
ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจให้ประชาชนได้รับการบริการสาธารณะให้ความสะดวก และรวดเร็วขึ้น โดยเน้นการมีมาตรฐานและเกิดความยุติธรรมดังนี้
1. ก่อสร้างและปรับปรุงบำรุงถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำให้เป็นไปด้วยความสะดวก
2. ก่อสร้างขยายเขตไฟฟ้าและไฟฟ้าสาธารณะ
3. ก่อสร้างและขยายเขตการบริการประปา
4. บริการสาธารณะที่ประชาชนพึงได้รับอย่างถ้วนหน้า
ตัวชี้วัด
1. จำนวนการก่อสร้างและปรับปรุงถนนทางระบายน้ำ
2. จำนวนปริมาณการขยายเขตไฟฟ้าและไฟฟ้าสาธารณะให้ครบทุกครัวเรือน
3. จำนวนปริมาณการขยายเขตประปาให้ครบทุกครัวเรือน
4. จำนวนการได้รับบริการสาธารณะอื่น ๆ เช่น โทรศัพท์สาธารณะ
6. ยุทธศาสตร์ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแนวนโยบายของรัฐบาล
เป้าหมาย
เพื่อปฏิบัติงานหรือดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนในการจัดระบบบริการสาธารณะระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและปฏิบัติงานตามแนวทางนโยบายของรัฐบาล
แนวทางการพัฒนา
ปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนงานในการจัดการระบบบริการสาธารณะตามแนวทางและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกระจายอำนาจกำหนดและดำเนินงานหรือกิจกรรมการที่ได้มอบจากรัฐบาล
1. การถ่ายโอนงานกิจการจัดการศึกษา
2. ส่งเสริมอัตราการป้องกันเฝ้าระวังรักษาบำบัดผู้เสี่ยงติดยาเสพติด และรักษาชุมชนให้เข้มแข็ง
3. ส่งเสริมการมีสุขภาพอนามัยที่ดีของมารดาและทารก
4. ส่งเสริมระบบความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้สามารถลดปัญหาความรุนแรง จากอุบัติเหตุ อุบัติภัย อาชญากรรมและสาธารณภัยต่าง ๆ
5. ส่งเสริมสร้างโอกาสการเข้ากับบริการสาธารณสุข
6. ส่งเสริมและสนับสนุนแนวนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
ตัวชี้วัด
1. จำนวนภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนงานบริการกิจการสาธารณะ
2. ปัญหายาเสพติดไม่มีและชุมชนเข้มแข็ง
3. มารดาและทารกได้รับการดูแล
4. ประชาชนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จำนวนอุบัติเหตุ อุบัติภัย อาชญากรรมมีจำนวนลดลง
5. จำนวนประชาชนได้รับการบริการสาธารณสุขอย่างก้าวหน้า
เทศบาลเมืองแม่โจ้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่สำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นให้กับประชาชน ได้แก่ งานด้านรักษาความสงบเรียบร้อย ส่งเสริมการศึกษา การกีฬา การจราจร งานสาธารณูปการ งานรักษาความสะอาดและสุขภาพอนามัยของประชาชน การบริหารงานทะเบียนราษฎรและบัตรประชาชน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาผังเมือง การควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตพื้นที่ให้เหมาะสม ตามบทบาทหน้าที่ที่เป็นของประชาคมท้องถิ่นด้วยการให้บริการที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพเป็นที่พึงพอใจของชุมชนและผู้รับบริการ ตามนโยบายของรัฐและกฎหมายกำหนด อีกทั้งส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร่วมกับเทศบาลได้
เทศบาลเมืองแม่โจ้ ได้ดำเนินการให้บริการประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการอื่น ๆ เพื่อรองรับความต้องการด้านบริการที่ขยายตัวตามหลักการของการพัฒนาเมือง และรับกับแผนงานพัฒนาตามแผนพัฒนาระดับจังหวัด ระดับอำเภอ โดยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการอื่น ๆ ให้การยินยอมและสมัครใจที่จะเข้าร่วมในการจัดการบริการร่วมกัน
ในการบริการจัดการภารกิจดังกล่าว เทศบาลจะปรับปรุงการจัดองค์การให้ทันสมัยและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้งานด้านบริการและพัฒนาท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ